วันอาทิตย์, พฤษภาคม 03, 2552

ขั้นตอนการทำ Blog จ้า...

1.ต้องทำการเข้าที่เว็บไซต์ของ Blog ก่อน
2.เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์ Blog แล้วจะเห็นดังรูปข้างล่าง จากนั้นให้ใส่ E-mail ในช่องชื่อผู้ใช้ จากนั้นก็ใส่รหัสผ่านของเราในช่อง รหัสผ่าน และคลิกที่ ลงชื่อเข้าใช้งาน









3.เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วก็จะเจอหน้าต่างดังรูปข้างล่างนี้ก็จะมีการใส่ชื่อที่เราต้องการจะแสดงโดยใช้ชื่ออะไรก็ได้ตามที่เราต้องการ ให้ใส่ในช่อง ชื่อที่แสดง จากนั้นให้คลิกที่ ฉันยอมรับในบรรทัดถัดมา และคลิกที่ ดำเนินการต่อ ที่เป็นลูกศร มุมล่างขวา


4.จะเห็นหน้าต่าง ดังข้างต้น ก็จะมีการให้ตั้งชื่อเว๊บบล็อก ตามที่เราต้องการในช่อง ชื่อเว็บบล็อก ต่อจากนั้นก็จะมีการให้เราใส่ URL ตามที่เราต้องการอีกเช่นกัน ในช่องที่อยู่บล็อก เมื่อพิมพ์ URL แล้ว จะต้องมีการตรวจสอบความพร้อมการใช้งานด้วยโดยคลิกที่ใต้ช่องที่อยู่บล็กของเรา จากนั้นให้คลิกที่ดำเนินการต่อ




5.จะเป็นการเลือกแม่แบบสำหรับบล็อกของเรานั่นเองโดยแล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคลที่จะเลือกให้เป็นในลักษณะใด ดังที่จะเห็นดังรูปต่อไปนี้
6.เมื่อเลือกแม่แบบตามที่ต้องการได้แล้วให้คลิกที่แม่แบบนั้น แล้วให้คลิกที่ ดำเนินการต่อ จากนั้นก็จะเห็นหน้าต่างดังต่อไปนี้
แล้วคลิกที่ เริ่มต้นการเขียนบล็อก

7.เมื่อคลิกแล้วจะเห็นหน้าต่างดังนี้


จะเป็นหน้าต่างที่เป็นการสร้างข้อความของบล็อกเรา โดยจะสร้างตามรูปแบบที่เราต้องการจะนำเสนอ สมมติว่าเราได้รูปแบบแล้ว เราจะพิมพ์ชื่อเรื่อง แล้วตามด้วย ข้อความที่ต้องการจะนำเสนอ แล้วคลิกที่คำว่า เผยแพร่บทความ





รูป 7.1 นี้ จะเป็นการแสดงถึงการสร้างบทความที่เราต้องการจะนำเสนอในบล็อกของเรา

รูป 7.2 นี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงรูปแบบของบล็อกเราว่าต้องการจะนำสนอแบบใด

วันพฤหัสบดี, เมษายน 30, 2552

โรงเรียนนายร้อยจปร.


โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จังหวัด นครนายก
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นนามที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในกระทรวงกลาโหมเป็น "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 องค์พระผู้พระราชทานกำเนิดสถาบันการศึกษาแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะมีพระชนมายุ 15 พรรษา พระองค์ทรงสนพระทัยในกิจการทหารทุกประเภท ประกอบกับในครั้งนั้นมีบุตรราชตระกูลและข้าราชการที่มีอายุอยู่ในวัยเยาว์เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในหลายคนด้วยกัน

พ.ศ.2411
จัดตั้ง "ทหารมหาดเล็กไล่กา" ในชั้นแรกมีจำนวนประมาณ 12 คน ทำหน้าที่ไล่กา
ที่ บิน มารบกวนข้าวสุกในเวลาทรงบาตร และได้จัดตั้งบอร์ดีการ์ด ขึ้น 24 คน
โดยทรงเลือกจากทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิม และเรียกกันว่า "ทหาร 2 โหล"
พ.ศ.2413
จัดตั้ง"กองทหารมหาดเล็ก" โดยคัดเลือกบุคคลจากมหาดเล็กหลวงได้ จำนวน 72 คน และได้รวมทหาร 2 โหล เข้าสมทบอยู่ในพวกใหม่นี้ด้วย



พ.ศ.2414
เมื่อทรงจัดการทหารมหาดเล็กพอมีหลักฐานเรียบร้อยขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามกองทหารมหาดเล็กนี้ ว่า "กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์"

พ.ศ.2415
จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก เพื่อสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาไทยเรียกสถานศึกษาว่า "คะเด็ตทหารมหาดเล็ก" ส่วนนักเรียนเรียกว่า "คะเด็ต" ใช้เวลาศึกษา 2 ปี นักเรียนเหล่านี้นอนตามระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พ.ศ.2424
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับทหารหน้าขึ้น จึงกำเนิด "คะเด็ตทหารหน้า" ขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่วังสราญรมย์ มีนักเรียนจำนวน 40 คน เรียกนักเรียน เหล่านี้ว่า "คะเด็ตทหารหน้า"

8 เม.ย. 2430
ให้รวมกรมทหารทั้ง 9 กรมได้แก่ กรมทหารบก 7 กรม ทหารเรือ 2 กรม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่า "กรมยุทธนาธิการ"

5 ส.ค. 2430
โปรดเกล้าฯให้รวมคะเด็ตทหารมหาดเล็ก คะเด็ตทหารหน้านักเรียนแผนที่และส่วนที่เป็นทหารสก็อต (ทหารมหาดเล็กรุ่นเยาว์สำหรับแห่โสกันต์) เข้าด้วยกันและใช้ชื่อรวมว่า "คะเด็ตสกูล" (ภาษาอังกฤษ) โดยใช้พื้นที่บริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์และพระราชทานกำเนิดเป็น "โรงเรียนทหารสราญรมย์" เนื่องในวันสำคัญนี้จึงถือเป็นวันพระราชทานกำเนิด แหล่งผลิตนายทหารหลักให้แก่กองทัพบก

6 ต.ค. 2440
ได้รวมกองโรงเรียนนายสิบ เข้ามาสมทบอยู่ในโรงเรียนไทหารสราญรมย์ และเรียกชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนสอนวิชาทหารบก"

พ.ศ.2441
จัดตั้งกรมเสนาธิการ ขึ้นตรงกับกรมยุทธนาธิการ และต่อมาได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษา ขึ้นตรงกับกรมเสนาธิการ โดยให้มีหน้าที่อำนวยการสอนแต่อย่างเดียว และตราข้อบังคับใหม่เรียกว่า "ข้อบังคับโรงเรียนทหารบก" และได้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น "โรงเรียนทหารบก" เมื่อ 27 พ.ย. 2441

พ.ศ.2445
เนื่องจากโรงเรียนทหารบกที่ตั้งอยู่ริมวังสราญรมย์ ซึ่งให้การศึกษาในระดับประถมศึกษา มีจำนวนนักเรียนมากขึ้นจนสถานที่เดิมแคบลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายโรงเรียนมาตั้งที่ถนนราชดำเนินนอก มีพื้นที่ 30 ไร่เศษและขยายการศึกษา เพิ่มเป็นระดับมัธยมศึกษา

11 พ.ย. 2451
โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำกอง โรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นมัธยมและโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม แสดงว่านักเรียนนายร้อยไม่เพียงเรียนได้ดีเท่านั้น ยังเป็นนักเรียน ที่สามารถออกศึกสงคราม เช่นเดียวกับทหารบกทั้งปวงและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย


26 ธ.ค.2452
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเปิดโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม อย่างเป็นทางการ





พ.ศ.2468
อันเป็นสมัยที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้ต้องจัดการย้ายโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม จากบริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์ เข้ามารวมกันที่ โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม ถนนราชดำเนินนอก เรียกว่า "โรงเรียนนายร้อยทหารบก" และให้ยกเลิก ชั้นประถม และมัธยม

26 มี.ค. 2471
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกระบี่และรางวัล แก่นักเรียนนายร้อยทหารบกที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดทุกคนเป็นครั้งแรกตลอดจนถึงรัชกาลปัจจุบัน มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชทานกระบี่เป็นประจำทุกปี

พ.ศ.2477
กรมยุทธศึกษาได้มีการปรับปรุงและจัดระเบียบใหม่ ทั้งบุคคลและหน่วยงาน จึงได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก" มีหน้าที่ฝึกอบรมนักเรียนที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร เหล่าทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารสื่อสาร ทหารช่างแสง และช่างอากาศ สำหรับโรงเรียนนายร้อยทหารบก มีหน้าที่ฝึกอบรมนักเรียนที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตรเหล่าทหารราบ ทหารม้า และนายตำรวจ

3 พ.ค.2489
ยุบโรงเรียนเท็กนิคทหารบก และแผนกตำรวจในกรมยุทธศึกษาทหารบกและเปลี่ยนชื่อกรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น "โรงเรียนนายร้อยทหารบก"และให้ขึ้นตรงต่อกองทัพบก


1 ม.ค. 2491
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ว่า "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า"เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Chulachomklao Royal Military Academy"เพื่อเป็นอนุสรณ์และเฉลิมพระเกียรติ ในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิด และได้ดำเนินกิจการเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติมาด้วยดี



ธ.ค. 2523
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าย้ายมาตั้งอยู่ที่บริเวณเขาชะโงก อำเภอเมือง ต่อกับอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก พื้นที่ประมาณ 21,000 ไร่เศษ และได้เริ่มโครงการก่อสร้าง

29 ก.ค. 2529
เคลื่อนย้ายนักเรียนนายร้อย และข้าราชการ ออกจากที่ตั้งเดิม เข้าสู่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ ที่ตั้งแห่งใหม่ จังหวัดนครนายก
ที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

สถานที่ท่องเที่ยวและโบราณสถานภายในโรงเรียนนายร้อย จปร.
1.ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน
ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน ตั้งอยู่บนชะง่อนหินเขาชะโงก ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนเคารพนับถือมาก ตามประวัติ ท่านเป็นนายด่านเมืองนครนายก สมัยกรุงศรีอยุธยา วีรกรรมของท่านคือ การต่อต้านเขมรที่แปรพักต์ เมื่อปี พ.ศ. 2130 ในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชขณะที่ไทยติดพัน กับศึกพม่า เขมรได้มารุกรานและกวาดต้อนผู้คนแถบปราจีนบุรีเพื่อนำกลับไปเขมรโดยได้ยึดเมืองปราจีนบุรีและนครนายกขุนด่านได้รวบรวมผู้คน ชาวเมืองนครนายก ถอยไปตั้งหลักที่เขาชะโงก แล้วยกกำลังเข้าขับไล่เขมรออกจากนครนายกจนเขมรแตกพ่ายไปความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อขุนด่านยังมีเรื่องเล่าอีกว่าในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้นำกำลังพลไปตั้งอยู่ที่เขาชะโงก และได้ทำการรื้อศาลเจ้าพ่อขุนด่านเจ้าพ่อขุนด่านได้แสดงอภินิหาร ทำให้ทหารญี่ปุ่นล้มตายเป็นจำนวนมาก

2.ศาลาวงกลม

จอมพลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงดำริให้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ของนักเรียนนายร้อย ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชหฤทัย รำลึกถึง องค์พระปิยมหาราชจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระบรมรูปขนาดครึ่งพระองค์ขึ้นจำนวนหนึ่งจากต่างประเทศ และ โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานพระบรมรูปมาด้วย1 องค์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ จึงโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานไว้ ณ ศาลาวงกลมซึ่งอยู่ภายในโรงเรียนนายร้อยทหารบกหรือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเดิมที่ถนนราชดำเนินกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนนายร้อยทุกรุ่นทุกคน ได้สักการะบูชาในฐานะองค์พระผู้พระราชทานกำเนิด โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าครั้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2510 ซึ่งเป็นปีที่ 80 ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงกระทำพิธีเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ พระองค์ใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นแทน ศาลาวงกลมเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามสภาพ และภายในพระบรมรูปองค์ใหม่ ได้บรรจุพระบรมรูปองค์เดิมไว้ข้างใน ต่อมาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้ย้ายที่ตั้งมายังจังหวัดนครนายกเเละได้จัดสร้างศาลาวงกลมขึ้นมาใหม่โดยจำลองมาจากศาลาวงกลมเดิมทุกประการ ในวันที่ 4 สิงหาคม 2530 ได้กระทำพิธีอัญเชิญ พระบรมรูปองค์เดิม ที่ได้บรรจุอยู่ในพระบรมรูปองค์ใหม่มายังโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจังหวัดนครนายก และในวันที่ 5 สิงหาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ครบรอบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ศาลาวงกลมหลังใหม่ พร้อมทั้งประดิษฐานพระบรมรูป รัชกาลที่ 5 องค์เดิม ณ ศาลาวงกลมนี้ด้วย
3.วัดเขาชะโงก (วัดพระฉาย)
ตั้งอยู่ที่ ในบริเวณโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก มีภาพเขียนติดอยู่กับชะโงกผาบนภูเขาเตี้ยๆพระพุทธฉายนี้ประวัติเดิมเป็นอย่างไรไม่ปรากฏเล่ากันต่อมาว่า สภาพเดิมเป็นภาพพระพุทธรูปปาง ต่าง ๆ ต่อมาเมือ่ปี 2485 กรมแผนที่ทหารได้เข้าไปตั้งโรงงานหินอ่อนที่เชิงเขานี้ และได้เขียนตามรอยพระพุทธรูปเดิมให้ชัดเจนขึ้น ราษฏรบริเวณนั้นนับถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดนครนายก ทุกกลางเดือน 3 จะมีงาน นมัสการเป็นประจำทุกปี





4.พิพิธภัณฑ์อาคาร 100 ปี
วัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง อาคาร รร.จปร.100 ปี สร้างโดยเงินบริจาคของศิษย์เก่าทุกรุ่น จำนวน 26,860,260.- บาท เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวองค์ผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และเป็นอนุสรณ์แห่งเกียรติประวัติของศิษย์เก่า รร.จปร. ที่ได้สร้างสมคุณงามความดี และได้เสียสละเพื่อประเทศชาติราชบัลลังก์
ชั้นที่ 3 พระบรมราชานุสาวรีย์ ( เรซิ่น ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุด
จอมพลทหารบกพร้อมประวัติย่อจัดสร้างขึ้นพร้อมกับอาคารแห่งนี้ โดยใช้งบประมาณในการสร้างประ
มาณในการสร้างประมาณ 250,000 บาท โดยให้พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งที่ อ.ศาลายา เป็นผู้จัดทำความสูง
165 ซม. น้ำหนัก 66 กก.

ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
กำเนิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า แลัววิวัฒนาการของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าแต่ละยุค
โดยแบ่งเป็นสามยุคคือ
- โรงเรียนทหารสราญรมย์
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ ถนน ราชดำเนินนอก
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ เขาชะโงก
นอกจากนั้นยังเป็นการจัดแสดง
- โต๊ะเครื่องแป้งใน รัชกาลที่ 5
- นาฬิกาทรงสูงจากปารีสในรัชกาลที่ 5
- โต๊ะทรงงานใน รัชกาลที่ 5
- เก้าอี้ที่ใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่5 ( รัชกาลที่ 6 พระราชทาน )
- ลายพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว(ทรงพระราชนิพนธ์ บทเพลงสยามนุสติ )
- โต๊ะทรงงาน พลเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ชั้นที่ 2
1.จัดแสดงธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหาร
2. จัดแสดงงานเพื่ออนุสรณ์แห่งเกียรติประวัติของศิษย์เก่าที่เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง
รัฐบุรุษ องคมนตรี , นายกรัฐมนตรี จำนวน 9 ท่าน , ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร์
3. บอร์ดแสดงเกียรติประวัติทหารไทยในสมรภูมิต่าง ๆ
เช่น สงครามโลกครั้งที่ 1, สงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามมหาเอเชียบูรพา, สงครามเวียดนาม ,สงครามเกาหลี ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก ยุทธการเผด็จศึก
4. เครื่องแบบนักเรียนนายร้อยในอดีตตั้งแต่สมัย ร.5 - ปัจจุบัน

ชั้นที่ 1 จัดเป็นห้องบรรยายสรุปกิจกรรมของ รร.จปร. ด้วยระบบมัลติมีเดียและจัดแสดงมุมของ จอมพล
ป.พิบูลสงครามประวัติโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก โรงเรียนนายร้อยหญิง และเครื่องแบบนักเรียนนายร้อยต่างประเทศ

ตู้นิรภัยจัดแสดงสิ่งของมีค่า อาทิเช่น
- พระยอดธงซึ่งในองค์พระยอดธงนั้นจะบรรรจุด้วยเส้นพระเจ้า ( เส้นผม ) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9
- เหรียญที่ระลึก รร.จปร.ครบรอบ 90 ปี ,99 ปี, 108 ปี , 111 ปี
- คฑาทองคำทองคำของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม หนัก 26.50 บาท ( 403 บาท ) ที่ได้รับพระราชทานจาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- กุญแจทองคำ ขนาดต่าง ๆ
- เหรียญเสนาธิปัตย์ทองคำของ พลเอกหลวงสุทธิสารรณกร อดีตประธานสภาผู้แทนราษฏร์
- ดาบจักร์พรรดิ อิโรฮิโต มอบให้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม
- หยกขาวของจอมพล ป.พิบูลสงคราม
- ปืนพกของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม

โรงเรียนเท็มนิฆทหารบก
โรงเรียนนายร้อยทหารบก นอกจากจะ ผลิตนักเรียนนายร้อยธรรมดายังมีการผลิต นักเรียนเท็ฆนิคโดย
มีจุดประสงค์ ที่จะให้นักเรียนเท็ฆนิคเหล่านี้ ได้มีความรู้ในทางช่างหรือวิศวกรรม เพื่อเป็นหน่วยช่วยรบ
ของกองทัพไทย วิชาช่างหรือวิศวกรรมที่มีการสอนมีสาขาต่างๆ เช่น สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศว
กรรมโยธา และสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
นักเรียนนายร้อยหญิง
ขณะที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในขณะดำรงตำ
แหน่งผู้บัญชาการทหารบก มีแนวความคิดให้มี ทหารหญิงเกิดขึ้นในช่วงที่ขาดแคลนกำลังพลโดยให้เปิด
รับสมัครในปี พุทธ ศักราช 2485 รับจากนักเรียนหญิงที่จบ ม.6 หรือเทียบเท่า เข้ารับราชการศึกษาต่อเป็น
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ภาค คือ ภาควิชาทหาร 1 ปี และภาคปฏิบัติ 6 เดือน มี
หญิงผ่านการสอบคัดเลือกได้เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยหญิงรุ่นแรกและรุ่นเดียว จำนวน 28 คน เมื่อสำเร็จ
การศึกษาได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวดในกองทัพบก รับยศว่าที่ร้อยตรี รับเงิน
เดือนขั้น 26 ( 80.- บาท )

กิจกรรมทางทหาร
1.กิจกรรมการเดินป่าพักแรมพิชิต เขาชะโงก
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
เพื่อสร้างความสามัคคี มีวินัย เสริมสร้างลักษณะผู้นำและผู้ตามที่ดี เพื่อให้รู้จักการวางแผน การแก้ปัญหาและการติดต่อประสานงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและความกระตือรือร้นในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและสร้างเสริมความอดทนต่อความเหนื่อยยาก ให้รู้จักตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น
เรื่องที่ทำการฝึกอบรมการอ่านแผนที่และการใช้เข็มทิศ
1. การเดินป่าพิชิตเขาชะโงก
2. การไต่หน้าผาจำลองและหน้าผาจริง
3. การพักแรมในภูมิประเทศ
4. กิจกรรมท่องเที่ยวนันทนาการ
5. การฝึกสภาวะผู้นำในสนามทดสอบผู้นำหน่วย
6. การประกอบอาหาร
7. การนันทนาการในเวลากลางคืน(ฝึกการสังเกต,ฟังเสียง,ดมกลิ่น,ชิมรส, สัมผัส,พิสูจน์ทราบ)
8. รับมอบเกียรติบัตรและเข็มสามารถ รร.จปร เส้นทางเดินทาง เขาคอก-เขาชะโงก ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2 วัน 1 คืน











2.กิจกรรมการโรยตัวจากหน้าผาจำลอง
เราพร้อมแล้วที่จะวัดใจท่าน หากท่านมีความกล้าพอที่จะลงจากที่สูงด้วยตัวท่านเอง ท่านที่จะโรยตัวเรามีครูผู้ที่มีความชำนาญฝึกให้ ท่านจะได้รับความปลอดภัยจากการเล่นกิจกรรม 100 เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่ท่านเดินทางเข้ามาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจจอมเกล้า ในวันหยุด แต่ถ้าหากท่านจะโรยตัวจากหน้าผาจริงท่านจะต้องรวมกลุ่ม 40 คน ขึ้นไป
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
-เพื่อทดสอบความกล้าหาญและการกล้าตัดสินใจ รายละเอียดของกิจกรรม -ฝึกทำ การโรยตัวด้วยเชือกจากหอกระโดดสูง 34 ฟุต ลงสู่พื้นด้วยท่าปฏิบัติ 3 ท่า คือ หน้าลง , หลังลง , หัวลง -ฝึกทำการโรยตัวด้วยเชือกจากหน้าผาจริงลงสู่พื้นด้วยท่าปฏิบัติ 3 ท่า คือ หน้าลง หลังลง , หัวลงใช้เวลาดำเนินการแล้วแต่ความพึงพอใจ
3.กิจกรรมการทดสอบกำลังใจ 10 สถานี
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
1.เพื่อทดสอบกำลังกายและสร้างเสริมความอดทนต่อความเหนื่อยยาก 2.การทำงานเป็นทีมและใช้ปฏิภานไหวพริบในการแก้ปัญหา 3.สร้างเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับสถานีการฝึกทางทหาร แบ่งกลุ่มเข้าทำกิจกรรมใช้ความสามารถของตนในการเคลื่อนที่ข้ามสิ่งกีดขวางจำนวน 10 สถานี 1.แกว่งตัวข้ามกำแพง 6 ฟุต 2.ไต่เชือก 3.สะพานลอย 4.หลังคาอกไก่ 5.กำแพง 6 ฟุต 6. แท่นกระโดด 7. กำแพง 10 ฟุต 8. สะพานต้นซุง 9. คูกระโดด 10. ตาข่ายทหารราบ - ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง อัตราค่าบริการกิจกรรมทดสอบกำลังใจ 40 คนขึ้นไป จองล่วงหน้า 2 สัปดาห์

4.กิจกรรมการกระโดหอสูง 34 ฟุต
สุดยอดแห่งความหวาดเสียว ก็คือการตกจากที่สูง ท่านพร้อมหรือไม่ ถ้าหากท่านพร้อมขอเชิญพบกับพวกเราได้ในกิจกรรมกระโดดหอสูง 34 ฟุต นอกจากความท้าทายแล้วท่านจะได้ประสบการณ์ในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลภายใต้วิกฤต แต่ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ท่านจะได้รับเกร็ดความรู้ทางทหารจากวิทยากรประจำสถานี เราเปิดบริการให้กับท่านในวันหยุด แต่ถ้าหากท่านมาเป็นหมู่คณะ 40 คนขึ้นไป เรายินดีเปิดให้บริการทั้งวันหยุดและวันราชการ เราพร้อมให้บริการสำหรับทุกท่านอยู่แล้ว ณ หอฝึกกระโดดร่ม รร.จปร.
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อทดสอบความกล้าหาญและการกล้าตัดสินใจ กิจกรรมกระโดดหอสูง 34 ฟุต เป็นการฝึกปฏิบัติก่อนที่จะทำการกระโดดร่มจริงลงจากเครื่องบิน โดยกระโดดจากหอสูง 34 ฟุต มีอุปกรณ์กระโดดร่มประกอบกับรอก
5.กิจกรรมการฝึกผู้นำหน่วย
กิจกรรมการฝึกผู้นำ เป็นกิจกรรมที่พัฒนาความคิดการทำงานเป็นทีม ผู้ที่จะเล่นกิจกรรมควรมีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี ร่างกายแข็งแรง เรามีอุปสรรรคและปัญหาให้ท่านแก้ ภายใต้สภาพที่กดดัน สิ่งที่ท่านจะแสดงออกมา จะวัดสภาวะความเป็นผู้นำของท่าน เราให้บริการกับท่าน โดยเป็นหมู่คณะ 40- 60 คน เพียงแต่ท่านแจ้งความประสงค์ผ่าน สำนักงานการท่องเที่ยว รร.จปร.
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
- เพื่อทดสอบกำลังกายและระดมความคิดในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า - ทำการฝึกความอดทนและอดกลั้นเมื่อทำงานร่วมกับผู้อื่น - ให้รู้วิธีการวางแผนอย่างเป็นระบบและปฏิบัติในเวลาที่กำหนดให้ - ฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตามในโอกาสและสถานการณ์ต่างๆ
รายละเอียดของกิจกรรม- เข้ารับฟังการอบรม “การทำงานเป็นทีม” โดยวิทยากรใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง - จัดแบ่งเป็น 3 กลุ่มกลุ่มละไม่เกิน 20 คน หมุนเวียนฝึกใน 3 สถานีโดยเริ่มปฏิบัติพร้อมกัน - กำหนดใช้เวลาสถานีละไม่เกิน 20 นาที - ขั้นตอนเมื่อเข้าประจำสถานีแล้วให้ปฏิบัติดังนี้ เมื่อเข้าประจำสถานีแล้วรับฟังคำชี้แจงและกติกาจากครูฝึกให้เข้าใจ แล้วร่วมกันสำรวจดูพื้นที่และร่วมกันวางแผนการปฏิบัติ 2 นาทีและเริ่มการปฏิบัติได้ด้วยความละเอียดรอบคอบเมื่อจบแต่ละสถานีครูจะสรุปชี้แจงหนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 2 - 3 ชม.

6.กิจกรรมการเดินป่าเชิงอนุรักษ์
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
1. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการท่องเที่ยวในธรรมชาติและอนุรักษ์ธรรมชาติ 2. เพื่อสร้างระเบียบ วินัย และการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนอื่น 3. เพื่อฝึกความอดทนในการเดินทางไกล ทั้งพื้นที่ราบ พื้นที่ป่า ภูเขา 4. เพื่อเรียนรู้การใช้แผนที่และเข็มทิศจริง และสามารถหาพิกัดของตนเองได้ 5. สามารถเที่ยวป่าภูเขาดูนกชมธรรมชาติอย่างมีความสุข 6. ปลูกเมล็ดพันธ์ต้นกล้าแห่งการอนุรักษ์รุ่นใหม่ในการอนุรักษ์ 7. เพื่อเรียนรู้การดำรงชีพในป่า - การหุงข้าวด้วยกระบอกไม้ไผ่ - การหาน้ำจากเถาวัลย์ - การหาน้ำจากต้นกล้วย 8. ฝึกการแก้ปัญหาระดมความคิดที่สถานี(Game Dynamic หรือสะพานท่อนซุง 9. ฝึกความอดทนต่อสภาวะกดดันตามธรรมชาติและสภาวะปกติ 10. ฝึกให้รู้จักการเสียสละรู้จักการให้การรับ
รายละเอียดของกิจกรรม1. ผู้เข้ารับการฝึกต้องทำการบรรจุสัมภาระ อุปกรณ์เดินทางที่จัดให้ลงใน เป้สนามเช่น พลั่ว ข้าวสาร และอาหารแห้ง 2. เรียนรู้การใช้แผนที่และเข็มทิศเข็มทิศ3. เรียนรู้การผูกเงื่อนเชือกช่วยชีวิต4. เรียนรู้เรื่องการดำรงชีพในป่า - หุงข้าวด้วยกระบอกไม้ไผ่ - หาน้ำจากเถาวัลย์และต้นกล้วย5. ปลูกต้นไม้คืนความสมบูรณ์ให้ป่า6. ประกอบเลี้ยงในภูมิประเทศ7. ไต่หน้าผาจริง 8. ปักธงสัญญลักษณ์บนยอดเขาชะโงก เส้นทางเดินทาง เขาคอก - เขามะค่าทอง - เขาชะโงก
การเตรียมตัวของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ควรแต่งกายรัดกุม สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าผ้าใบมีจิตใจแข็งแกร่งร่างกายที่แข็งแรง มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จะเที่ยวป่าอย่างมีความสุข ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 3 – 4 ชม.

7.กิจกรรมการเดินป่าผจญภัย
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
1.เพื่อสร้างความสามัคคี , มีวินัยให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2.เสริมสร้างลักษณะผู้นำและรู้จักการเป็นผู้ตามที่ดี3.เพื่อให้รู้จักการวางแผนการแก้ปัญหาการบริหารเวลาและการสร้างเครือข่าย การติดต่อประสานงาน 4.เพื่อส่งเสริมและสร้างเสริมความอดทนต่อความเหนื่อยยากลำบากในหลายสถานการณ์ 5.เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและความกระตือรือร้นในการปฏิบัติ และเพื่อให้รู้จักตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น 6.รู้จักตนเองและผู้อื่นมากขึ้น7.เพื่อความสนุกสนาน
รายละเอียดของกิจกรรม(สถานีทางทหาร) แบ่งออกเป็น 10 สถานี 1. สถานีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2.สถานีอุโมงค์วิบาก3.สถานี สะพานเชือกคู่ 4. สถานีตาข่ายทหารราบ 5.สถานี สะพานไม้ต่างระดับ 6.สถานีเลื่อนช่วยชีวิต 7.สถานีสนามวิบาก 8.สถานีบ่อทรายดูด 9.สถานีหุงหาสามัคคี 10. สถานีหีบสมบัติ(เฉพาะช่วงเวลากลางคืน)
การเตรียมตัวของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1.การแต่งกาย - ควรสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว - ควรสวมรองเท้าผ้าใบ หรือ รองเท้าเดินป่า - ควรมีชุดสำรอง 1 ชุด 2.สิ่งของที่ไม่ควรนำติดตัวไป - เครื่องมือสื่อสาร - เครื่องประดับ - เครื่องอาวุธทุกประเภท
ขั้นตอนการปฏิบัติของกิจกรรม 1. เดินทางเข้าจุดรวมพลตามวันเวลาที่กำหนด 2. ปรับสภาพร่างกายและจิตใจ(ละลายพฤติกรรม)ตามความเหมาะสมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3. แบ่งกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม(หรือตามที่จัดมาให้) 4. ชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติ 5. เข้าสู่สถานีที่กำหนดตามลำดับ 6. จบภารกิจเมื่อกลุ่มสุดท้ายเข้าสู่ที่หมายที่กำหนด สรุปกิจกรรม และมอบของที่ระลึก 7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลับที่พักโดยสวัสดิภาพ

กิจกรรมทางกีฬา
1.กิจกรรมจักรยานท่องเที่ยว
อัตราค่าบริการ 30 บาท ต่อ คัน/วัน เปิดทุกวัน 08.00 – 18.00 น.

2.กิจกรรมยิงปืน
สนามยิงปืน รร.จปร การฝึกยิงปืนนั้น เป็นการเรียนรู้เพื่อเอาไว้ใช้ป้องกันตัว และใช้อาวุธปืนได้อย่างถูกต้องในยามฉุกเฉิน ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตนเองและเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้กับชีวิต เราขอเสนอโปรแกรมพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยวดังนี้ 1. ปืนพก ( แมกกาซีน ) ขนาด 11 มม. และ 9 มม. เรานำสุดยอดอมตะปืนพกของโลก คือ Colt.1911 มาให้บริการแก่นักท่องเที่ยว - 1ชุด กระสุน 10 นัด, เป้า,ปืน - สำหรับ 11 มม. 1 ชุด 10 นัด หากท่านยิงไปแล้ว 5 นัด ไม่ประทับใจ นำกระสุนที่เหลือ 5 นัดมาคืน เราคืนเงินให้หมดทันที 2. ปืนพก ( ลูกโม่ ) ขนาด 38 นิ้ว เรานำปืน สมิธ แอนด์ เวสสัน ซึ่งเป็นสุดยอดของวงการลูกโม่มาให้บริการ เป็นปืนขนาดมาตรฐาน 38 นิ้ว ความยาวลำกล้อง 4 นิ้ว - 1 ชุด กระสุน 10 นัด , เป้า , ปืน สุภาพสตรีที่ไม่เคยยิงมาก่อน ยิงได้สบาย ๆ สำหรับลูกโม่ หากท่านยิงแล้วตกใจหรือน่ากลัว เราคืนเงินให้ทันที 3. ปืนยาวลูกกรด 22 เรานำสุดยอดปืนระดับโลก "อันชูทส์" จากเยอรมัน เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกส์มาให้บริการ เราขอรับรองว่าเป็นหนึ่งเดียวในสนามของเมืองไทยหายิงได้เฉพาะที่นี่เท่านั้น - 1 กระสุน 10 นัด , เป้า , ปืน ปืนชนิดนี้ยิงได้ตั้งแต่เด็ก ๆ ถึงผู้ใหญ่ กระสุน 10 นัด คิดเป็นคะแนนเต็ม 100 หากท่านยิงแล้วได้ไม่ถึง 70 คะแนน เราคืนเงินให้ทันที หากท่านทำได้ 98 หรือ 100 คะแนน เรามีรางวัลให้*********ท่านเคยยิงปืนหรือไม่เคย ไม่มีข้อแม้ใด ๆ ทั้งสิ้น เรามีครูฝึกที่มีความรู้ ความชำนาญเรื่องปืน และมีมนุษยสัมพันธ์ดีเยี่ยมซึ่งได้รับการคัดสรรมาแล้ว"ประกบตัวต่อตัว" *************** - เรามีอุปกรณ์ครบครัน ที่ครอบหูระดับสากล Peltor และ แว่นตา - เรากาแฟ + น้ำเย็น บริการฟรีทุกท่าน พิเศษสุด ท่านใคยิงปืนขนาด 11 ,9 และ .39 ได้ระดับคะแนนดี เรามีวุฒิบัตรรับรองการผ่านยิงปืนมอบให้ เข้ามาท่องเที่ยวใน รร.จปร. อย่าพลาด มาสัมผัสของจริง เสียงจริง ปลอดภัย 100 %TEL. 037-393295
3.กิจกรรมการยิงปืนเพ้นท์บอล
กีฬายิงปืนเพ้นท์บอลเป็นกีฬาที่แสดงถึงความซื่อสัตย์ผุ้เล่นจะต้องมีสมาธิมีไหวพริบ สามารถวางแผนอย่างเป็นทีมได้ นอกจาจะให้ความสนุกสนานเร้าใจแล้วยังทำให้สมาชิกมีความสามัคคีและยังช่วยในเรื่องของความแข็งแรงแก่ร่างกายด้วย วิธีเล่น - แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม - ตัดสินแพ้ชนะโดยการชิงธงของฝ่ายตรงข้ามขึ้นมาโบก - ผู้ที่ถูกยิงทุกส่วนถือว่าแพ้ ต้องออกจากสนามทันที - หากยิงฝ่ายตรงข้ามในระยะประชิด 5 เมตร พร้อมพูดว่า "You dead" ถือว่าชนะ - เกมส์ละ 10 นาที พักครั้งละ 3 นาที หากยังไม่สามารถชิงธงฝ่ายตรงข้ามได้ถือว่าเสมอกัน เกมส์การเล่น - ชิงธง 2 ใน 3 ถือว่าชนะ - ชิงธง 1 ครั้ง ถือว่าชนะจากนั้นสามารถตะลุมบอลได้ - หลังตะลุมบอลฝ่ายไหนโดนยิงน้อยถือว่าชนะ

4.กิจกรรมการยิงปืนด้วยแสงเลเซอร์
เครื่องช่วยฝึกยิงด้วยแสงเลเซอร์ และกระสุนจริง Range 3000 เป็นเครื่องช่วยฝึกที่สร้างมาเพื่อ....ฝึกทักษะการยิงปืน , การฝึกนักแม่นปืนแบบยิงเป้านิ่ง , เหตุการณ์แบบภาพหรือภาพยนตร์ , การฝึกนักแม่นปืนของหน่วยปราบจราจล , ทีมล่าสังหาร , เจ้าหน้าที่ รปภ. , ทำการฝึกจำลองสถานการณ์ในเวลากลางคืนได้ , การฝึกจำลองในระบบติดต่อสื่อสาร , การฝึกทางยุทธวิธี และการยิงภาพเคลื่อนไหวตามเหตุการณ์ เพื่อตัดสินใจในการทำลายเป้าหมาย และ เลือกใช้อาวุธตอบโต้สถานการณ์ในทันทีทันใด อาวุธที่ใช้ในการฝึกยิง....สามารถใช้การยิงด้วย ปลย.M 16 , ปืนพกแบบ 86 ( 11 มม. ) และ ปพ.ขนาด 9 มม.ประจำอาคาร ระบบที่ใช้ในการยิง...สามารถใช้การยิงด้วยแสงเลเซอร์ และกระสุนจริง สามารถทำการยิง..... ได้ครั้งละ 4 คน ( มีระบบความปลอดภัย 100 % ) การให้บริการ เปิดทุกวัน/วันธรรมดา 24 คนขึ้นไป เวลา 09.00-16.00 น.
5.กิจกรรมพายเรือคยัค
เป็นเรือพายที่ใช้พายกับน้ำนิ่ง มีเสื้อชูชีพ พร้อมทั้งแนะนำวิธีพายเรือให้ด้วย และสามารถจัดทำเกมให้กับกิจกรรมทีมได้อีกด้วย และจักรยานน้ำ อัตราค่าบริการ 30 บาท เปิดทุกวัน 0800 - 1800 น.
รายละเอียดเพิ่มเติมเรือคยัค ผู้พายจำเป็นต้องมีทักษะสูงในการพาย
เรือคยัค เป็นหนึ่งในกลุ่มเรือ หัว แหลม ท้ายแหลม อย่างแคนู ซึ่งเรือคยัคนี้เชื่อว่ามีต้นกำเนิดจากเรือของชาวเอสกิโมแถบเกาะกรีนแลนด์ที่ใช้เรือชนิดนี้ออกไปล่าสัตว์ตามลำน้ำชนิดนี้ออกไปล่าสัตว์ตามลำน้ำ เรือคยัคจะมีฝาปิดรอบตัวแน่นหนาเพื่อป้องกันน้ำเข้าเรือและความหนาวเย็น ลักษณะพิเศษของเรือคยัคก็คือ พายที่ใช้นั้นจะมีใบพาย 2 ข้างเวลาพาย ก็จ้วงซ้ายที ขวา ทีสลับกันไป เรือคยัคถือเป็นเรือผจญแก่งประเภทเดี่ยว มีคุณสมบัติในการผจญแก่งได้เป็นอย่างดีแต่ผู้ที่พายจำเป็นต้องมีทักษะในการพายสูงี สำหรับสายน้ำที่เหมาะแก่การพายเรือคยัค


6.กิจกรรมเลื่อนข้ามลำน้ำ
เป็นกิจกรรมทดสอบกำลังใจ ที่ทำให้เกิดความกล้า บางท่านไม่กล้าบนที่สูง ในลักษณะเดียวกันบางท่านไม่กล้าลงจากที่สูงเช่นกัน ถ้าท่านได้ผ่านกิจกรรมนี้ ก็ทำให้หายกลัวและเกิดความกล้าขึ้น เป็นกิจกรรมที่เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และสามารถจัดทำเกมให้กิจกรรมทีมได้ด้วยเปิดทุกวัน 0800 - 1700 น.


http://th.upload.sanook.com/A0/75dfb4394a76e0e7e4a1c8e6cb5fed52